การติดตั้งเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น ตู้แช่เย็น เบื้องต้น
1.การติดตั้งคอยล์ร้อน คอนเดนซิ่งยูนิท (Condensing Unit)
1.1 ตำแหน่งที่ติดตั้งต้องแข็งแรง รองรับน้ำหนักและแรงสั่นสะเทือนจากการทำงานได้การยึดแขวนแต่ละวิธีการ ต้องใช้พุกและสกรูให้ถูกต้องกับสิ่งที่ยึดเครื่องต้องยึดกับโครงสร้างที่แข็งแรงโดยมีวัสดุรองรับการสั่นตามมาตรฐานของผู้ผลิต
1.2 ตัวเครื่องต้องไม่เอียงและต้องมีระยะห่างไม่น้อยกว่า 300 mm โดยรอบชุดคอนเดนซิ่งยูนิท เพื่อการซ่อมบำรุง
1.3 ตำแหน่งติดตั้งต้องสามารถรับลมจากบรรยากาศภายนอกเข้าระบายความร้อนและส่งออกสู่ภายนอกได้สะดวกโดยไม่มีสิ่งกีดขวางกระแสลมทำให้ลมร้อนไหลยอนกลับเข้าเครื่องได้อีก
1.4 การติดตั้งหลายเครื่อง ต้องไม่ระบายลมร้อนเข้าหากัน และต้องพิจารณาสถานที่ตั้ให้เครื่องสามารถสูบลมจากบรรยากาศภายนอกเข้าระบายที่เครื่องได้โดยไม่มีลมร้อน ย้อนกลับมาด้วย
1.5 ตำแหน่งติดตั้ง ที่ชุดคอยล์ร้อน Condensing ต้องไม่ก่อให้เกิดเสียงดังรวมถึงกระแสลมร้อนที่ระบายต้องไม่รบกวนบริเวณพื้นที่ใชงานข้างเคียง
2.การติดตั้งแฟนคอยล์
2.1 ตำแหน่งติดตั้ง ต้องมั่นคงแข็งแรงสามารถรับน้ำหนักและแรงสั่นสะเทือนจากการทำงานได้
2.2 การยึดแขวนแฟนคอยล์ แต่ละชนิด ต้องยึดด้วยพุกและสกรูและลวดแขวนชนิดที่ถูกต้องและมีขนาดที่รองรับน้ำหนักได้
2.3 ต้องมีระยะห่างจากสิ่งต่างๆ ไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในคู่มือการติดตั้งหรือต้องสามารถเข้าซ่อม บำรุงรักษา เปลี่ยนเครื่องหรืออุปกรณ์ได้โดยสะดวกไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่วัสดุสิ่งของที่อยู่ใต้ครื่องหรือบริเวณใกล้เคียง
2.4 การส่งกระจายลมเย็นต้องเป็นไปอย่างทั่วถึงไม่กระทบตรงตัวผู้ใช้ไม่กระทบการใช้งานของหัวฉีดน้ำดับเพลิง(Sprinkler) หรืออุปกรณ์ตรวจจับควันไฟ้และไม่ก่อให้เกิดการกลั่นตัวของน้ำาแก่วัสดุที่ถูกลมย็นกระทบเช่นกระจกฝ้าเพดาน ทีวีเป็นต้น
2.4.1 ลมเย็นไม่ถูกดูดย้อนกลับเข้าช่องลมกลบโดยทันที
2.4.2 ลมกลับต้องสามารถไหลกลับสู่เครื่องได้สะดวก และทั่วถึงจากทุกบริเวณที่ส่งลมเย็นไปถึง
2.5 การติดตั้งแฟนคอยล์ชนิดต่อท่อลม , แฟนคอยล์ชนิดซ่อนเหนือฝ้าเพดานหรือชนิดต่อท่อลม (Ceiling conceal หรือ Ducted type) ต้องทำกล่องลมกลับ (Return chamber) ครอบแฟนคอยล์หรือทำท่อลมกลับ (Duct return) เพื่อป้องกันอากาศเหนือฝ้าเขาสู่แฟนคอยล์ พร้อมทำช่องบริการ (Access panel) เพื่อเข้าซ้อมบำรุงได้ขนาดไม่น้อยกว่า 0.6x 0.6 เมตร
2.6 แฟนคอยล์ชนิดต่อท่อลม (Duct type) ต้องใช้ท่อลมและหัวจ่ายลมเย็นที่มีขนาดโตพอที่ไม่เกิดเสียงดังและไม่ยาวเกินกว่าที่จะสามารถส่งลมเย็นถึงได้ตามชนิดของเครื่อง ทั้งนี้ความดันสถิตของระบบท่อลมและอุปกรณ์จะต้องไม่เกินความดันสถิตของหน่วยแฟนคอยล์ (External Static Pressure) ที่กำหนดโดยผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศ
2.7 ขนาดของช่องลมกลับต้องโตพอที่จะให้ลมกลับไหลผ่านด้วยความเร็วไม่เกิน 2 เมตรต่อวินาที (400 ฟุตต่อนาที)โดยคิดจากพื้นที่หน้าตัดสุทธิ
2.8 แผงกรองอากาศอาจติดตั้งอยู่ที่เครื่องหรือบานเกร็ดลมกลับต้องสามารถถอดล้างได้สะดวก
3.การติดตั้งท่อสารทำความเย็น
3.1 การต่อท่อเข้ากับอุปกรณ์จะต้องระมัดระวังต่อไปนี้
3.1 การต่อท่อเข้ากับคอยล์, เครื่อง, และอุปกรณ์อื่นๆ จะต้องไม่มีความเค้นเกิดขึ้นที่ท่อและอุปกรณ์และจะต้องมีข้อต่อแบบถอดได้โดยง่ายเช่นข้อต่อแบบแฟลล์สำหรับการถอดซ่อม หรือเปลี่ยนอุปกรณ์
3.2 การขยายตัวและการหดตัว
3.2.1 จะต้องติดตั้งท่อโดยไม่ให้เกิดความเสียหาย เนื่องจากการขยายตัวและหดตัวจากอุณหภูมิระหว่างทำงาน
3.2.2 จะต้องนำข้อต่อขยายตัวหรือข้อต่ออ่อนมาใช้ในที่ซึ่งมีการการขยายตัวและการหดตัวของท่อเกินกว่าที่จะสามารถชดเชยได้จากลูปขยายตัว
3.2.3 การทรุดตัวที่ไม่เท่ากัน ระบบท่อจะต้องติดตั้งในลักษณะที่จะไม่เกิดความเสียหาย เนื่องมาจากการทรุดตัวที่ไม่ เท่ากันของสิ่งรองรับท่อและเครื่องภายหลังการติดตั้งปัญหานี้สามารถหลีกเลี่ยงได้โดยติดตู้ข้อต่ออ่อน, ลูปหรืออ๊อฟเซ็ต
3.2 ท่อสารทำความเย็นทั้งหมดจะต้องติดตั้งอยู่บนอุปกรณ์รองรับ ( SUPPORT, HANGER ) โดยระยะห่างของจุดที่แขวน ดูจาก ตาราง
การยึดท่อเข้ากับ Support หรือ Hanger แยกเป็น 2กรณีดังนี้
3.2.1 ท่อแนวนอน – ให้ใช้ท่อ พี.วี.ซี. ผ่าครึ่งตามยาว หรือแผ่นเหล็กอาบสังกะสีไม่บาง กว่าเบอร์22 B.W.G. ยาวไม่น้อยกว่า 20 ซม. ประกบ แล้วรัดด้วย Clamp สำหรับ บริเวณที่ Support หรือ Hanger อยู่ใกล้กับท่อตั้งและ มีน้ำหนักกดทับจากท่อแนวดิ่งมากจนฉนวนมีการยุบตัวมากให้ใช้ยางรองท่อ (Rubber Support) สำหรับรับน้ำหนักโดยเฉพาะ แทนฉนวนปกติ เพื่อไม่ให้เกิดการการยุบตัว
3.2.2 ท่อตั้ง – ให้ใช้ยางรองท่อ (Rubber Support) รัดด้วย Clamp เข้ากับ Support เพื่อให้สามารถรับน้ำหนักในแนวดิ่งได้ป้องกันไม่ให้ท่อในแนวดิ่งเกิดการเลื่อนไถลลงซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบท่อได้
3.3 การเตรียมท่อสารทาความเย็น การทำความสะอาดภายในท่อกรณีที่ไม่ได้ใช้ ท่อตามมาตรฐาน ASTM B 280
3.3.1 การทำความสะอาดภายในท่อทองแดงที่เลือกใช้หากเป็นท่อม้วนจะถูกปิดปลายและภายในท่อค่อนข้างสะอาดอยู่แล้วหากเป็นท่อแข็ง การทาความสะอาดแนะนำให้ใช้ น้ำยา 141B ชุบผ้าสะอาดที่ไม่มีขนหรือเศษใยผูกกับลวดแล้วชักจนท่อสะอาดหรืออาจใช้ฟองน้ำชุบ น้ำยา 141 B แล้วใช้ แรงดันก๊าซไนโตรเจนดันจากปลายข้างหนึ่งไปออกอีกข้างหนึ่ง ทำจนสะอาด
3.3.1.1 ปิดปลายท่อทุกครั้งเมื่อทาความสะอาดท่อเสร็จแล้วเพื่อป้องกันสิ่งสกปรก
3.3.1.2 การตัดท่อใช้ Cutter ตัดท่อเท่านั้นและใช้ Reamer ลบคม
3.3.1.3 ให้ใช้ เครื่องมือดัดท่อเท่านั้นห้ามใช้มือดัดหรือใช้เครื่องมือผิดประเภท
3.3.1.4 การเบ่งขยายท่อต้องใช้เครื่องมือเบ่งขยายที่ถูกต้องและขนาดที่ถูกต้องเท่านั้น
3.3.2 การบานแฟร์ต้องใช้เครื่องมือบานแฟร์ที่ถูกต้องและทำตามวิธีใช้งานของเครื่องมือ นั้น
3.3.3 การเชื่อมท่อสารทำความเย็นต้องใช้ไนโตรเจนบริสุทธิผ่านในท่อเพื่อป้องกันการเกิดเขม่าการทดสอบรอยรั่วของท่อสารทำความเย็น
3.3.3.1 การทดสอบรอยรั่วเฉพาะระบบท่อไม่รวมแฟนคอยล์และคอนเด็นซิ่ง ยูนิต ด้วยการทดสอบความดันด้วยการอัดก๊าซไนโตรเจน ให้มีความดัน 1.5 เท่าของความดันใช้งาน (400 Psig สาหรับ R22 และ 600 Psig สาหรับ R410A)
3.3.3.2 การทดสอบรั่วรวมทั้งระบบ ท่อร่วมกับแฟนคอยล์ยูนิต ทดสอบความดันด้วยก๊าซไนโตรเจนที่ความดันใช้งาน (300 Psig สาหรับ R22 และ 400 สาหรับ R410A)
3.3.3.3 ภายหลังการเชื่อมท่อสารทำความเย็นแล้วเสร็จ ไม่ควรลดอุณหภูมิ บริเวณที่ทำการเชื่อมบัดกรี อย่างรวดเร็ว โดยการใชผ้าชุบน้ำเช็ดหรือ ใช้น้ำราดเพราะจะทำให้ ท่อแตกร้าวเมื่อใช้งานไประยะหนึ่ง