ในปัจจุุบันเรากำลังเผชิญกับปัญหาราคาพลังงานที่เพิ่มสููงขึ้นการใช้พลังงานต้องมีการวางแผนและควบคุุมการใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สููงสุด สอดแทรกกับการลดการสูญเสียพลังงาน
ทุุกขั้นตอน รวมถึงมีการตรวจสอบและดููแลการใช้งานตลอดเวลา เพื่อลดการรั่วไหลของพลังงานหรือที่เรียกว่าการอนุรักษ์พลังงาน ขอกล่าวแนวทางในการอนุรักษ์พลังงานหรือการใช้พลังงานเชิงอนุรักษ์ประสิทธิภาพสููงที่แพร่หลายกันอยู่ในปัจจุุบันสำหรับตู้แช่เย็น ดังต่อไปนี้
1. การพิจาณาเลือกใช้คอมเพรสเซอร์หรือเครื่องเย็นที่มีประสิทธิภาพสูง (High COP)
2. ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเบอร์ประสิทธิภาพสูงที่เราเรียกว่า International Efficiency (IE) โดย
สามารถสอบถามกับผู้ผลิตมอเตอร์ ซึ่งมอเตอร์ที่มีค่า IE สูงก็จะมีประสิทธิภาพสูงและราคาก็สูงขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน
3. การพิจารณาเลือกใช้สารทำความเย็นให้เหมาะสมกับเครื่องทำความเย็นทั้งนี้ต้องคำนึงถึงผลกระทบจากภาวะโลกร้อนและชนิดน้ำยาที่สามารถใช้ทดแทนในอนาคตในตอนหลังการยกเลิกการผลิตและราคาที่่แพงขึ้นเพราะหายากในอนาคต เช่น น้ำยา R-22 โดยสารทำความเย็นสามารถพิจารณาแบ่่งออกเป็นสารทำความเย็นสำหรับ Commercial Refrigeration และ Industrial Refrigeration โดยถ้าเป็นชุุดขนาดเล็กที่ใช้กับตู้เย็น หรือตู้แช่เย็น ก็อาจจะเลือกใช้ R-134a หรือ R-600a หรือ R-290 ส่วนสารทำความเย็นแบบฟรีออนที่ใช้ในระบบขนาดเล็กไปถึงระบบขนาดกลาง ต้องคำนึงถึงค่า Evaporating Temperature ด้วย เพราะสารทำความเย็นบางชนิดจะมีประสิทธิภาพที่ดีในย่านอุุณหภููมิต่ำ เช่น R-404A/R-507A แต่จะไม่สามารถใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพที่ย่านอุุณหภูมิสูง
4. การปรับปรุงด้วยการใส่อุุปกรณ์อีเลคทรอนิกส์เสริม ณ ปัจจุุบันที่นิยมใช้กันก็มีอยู่ 2 วิธีการคือ ลดรอบมอเตอร์ด้วยอินเวอร์เตอร์ (Frequency Inverter) และการปรับปริมาณการไหลของน้ำยาที่ผ่านตัวคอมเพรสเซอร์ (Capacity Regulating Refrigerant Flow), โดยทั้ง 2 วิธีนี้จะสามารถรักษาระดับอุุณหภูมิที่ตั้งไว้ให้คงที่และแม่นยำมากขึ้น และได้ประโยชน์ทางอ้อมจากการรักษาระดับความชื้นในห้องเพราะอุุณหภููมิจะไม่สวิงแกว่งขึ้นลงส่งผลให้สินค้าที่เก็บยังคงคุุณภาพ อย่างไรก็ตาม การใช้งานทั้ง 2 แบบนี้ก็มีทั้งข้อดีข้อเสีย และข้อจำกัดที่แตกต่างกันไปดังสรุุปดังนี้
อินเวอร์เตอร์ (Frequency Inverter) : จะสามารถลดและเพิ่มความเร็วรอบของมอเตอร์ตามโหลดภาระความร้อน (Partial load) โดยรอบความถี่ต่ำสุดของมอเตอร์ที่แนะนำจะขึ้นอยู่กับการออกแบบของผู้
ผลิตและปริมาณการไหลกลับของน้ำมันหล่อลื่น
การใช้อินเวอร์เตอร์นั้นสามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้ประมาณ 10% – 35%
เป็นอย่างน้อย โดยอาจจะประหยัดพลังงานมากถึง 45% – 50% ในกรณีห้องเก็บสินค้า หรือตู้แช่เย็น ตู้แช่เย็นแบบหน้าเปิดที่มีภาระโหลดความร้อนเพิ่มน้อยมากและระดับน้ำมันกลับยังคงดีอยู่เสมอ แต่ก็อาจจะประหยัดพลังงานได้น้อยลงถ้าเปิดประตููเพื่อเข้าออกสินค้าบ่อยหรือลืมเปิดทิ้งไว้หรือคุณภาพการป้องกันความร้อนของผนังห้องเสื่อมสภาพหรือมีจุุดรั่่ว
5. การเปลี่ยนชนิดของ Expansion Valve จากแบบ Thermostatic มาใช้แบบ Electronic เพื่อความสะดวกในการปรับตังค่า และความแม่นยำในการควบคุมค่า Superheat ในตลอดเวลาที่ภาระโหลดแปรผัน เพื่อมั่นใจว่่าน้ำยาที่ออกมาจากอีวาโปรเรเตอร์นั้นเดือดเป็นไอหมดโดยสมบููรณ์ซึ่งควรตั้งค่าให้อยู่ในช่วงประมาณ 10K สำหรับน้ำยาฟรีออน โดยไม่ต่ำกว่่า 5K เป็นการป้องกันความเสียหายของคอมเพรสเซอร์ได้ด้วย การควบคุุมค่่า Superheat ของอีวาโปรเรเตอร์หรือ Heat Exchanger ที่่ดีจะทำให้ได้ค่าประสิทฺฺธิภาพใกล้ หรือเท่่ากับค่าประสิทธิภาพสููดสุุงของตัวคอมเพรสเซอร์นั่นเอง
6. การเพิ่มขนาดของคอลย์ร้อน คือ การเพิ่ม Liquid Subcooling ให้น้ำยาควบแน่นเป็นของเหลวโดยสมบููรณ์โดยการระบายความร้อนของน้ำยาออกไปนั้นเองโดยจะไปเพิ่มความสามารถในการทำความเย็นของ
อีวาโปรเรเตอร์ และประสิทธิภาพ ทั้งนี้พลังงานไฟฟ้า Power input และกระแส Current ของคอมเพรสเซอร์์จะยังคงเท่าเดิม
จากที่กล่าวมาในข้างต้นนั้นเป็นหลักวิธีพื้นฐานทั่วไปในการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบทำความเย็น แต่ก็
ยังมีวิธีการอื่นๆ ที่ไม่ได้กล่าวเพิ่มเติมในที่นี้ เช่น การออกแบบ Rack ที่ประกอบด้วยคอมเพรสเซอร์หลาย
ตัวใช้ท่อร่วมน้ำยา Common Suction ร่วมกัน ในการลดค่ากระแสสตาร์ท และเพิ่มประสิทธิภาพในขณะ
ที่ภาระโหลดน้อยลด Part Load เป็นต้น
credit : KEEP KOOL 67